วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย

ขอน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และ ร่วมถวายความอาลัยกับการเสด็จสวรรณคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย 
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า โกยูนิ และ โกยูนิ ประเทศไทย

                                      (FILES) This file picture released by the Thai Royal Bureau taken on December 5, 2007 shows Thai King Bhumibol Adulyadej waving to the crowds during his 80th birthday celebrations at the Grand Palace in Bangkok. Thailand's Foreign Minister Kasit Piromya while in Washington on April 12, 2010 issued a rare call for a debate on the role of the revered monarchy in the political process, following the country's worst civil violence in almost two decades. The monarchy's role remains one of the most sensitive subjects in the kingdom, where violent clashes on April 10 between the army and anti-government "Red Shirts" left 21 people dead. RESTRICTED TO EDITORIAL USE AFP PHOTO/Thai Royal Bureau/HO / AFP PHOTO / Thai Royal Bureau / Thai Royal Bureau
สองสามวันที่ผ่านมานั้นถือเป็นวันที่โศกเศร้าสำหรับคนไทยเป็นอย่างมาก หลังจากที่สำนักราชวังแถลงการณ์การสวรรณคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา… ถึงแม้ว่าคนไทยหลายๆคนจะไม่ได้อยู่ในประเทศไทยในวโรกาสนี้  เเต่คนไทยที่อาศัยอยู่ที่นี่และคนอังกฤษก็ได้แสดงความเสียใจต่อพระมหากษัตริย์ของเราในรูปแบบที่หลากหลาย วันนี้ GoUni ได้รวบรวมเหตุการณ์สำคัญที่ผ่านมา หรือ กำลังเกิดขึ้นเกี่ยวกับการสวรรณคตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลในประเทศอังกฤษมาให้ชาวโกยูนิได้อ่านกัน..
การรายงานข่าวการสวรรคต
การรายข่าวเรื่องการสวรรณคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นปรากฏให้เห็นทั่วสารทิศในสหราชอาณาจักร เพราะนอกจากที่ในหลวงของเรานั้นเป็นกษัตริย์ที่ครองราชย์นานที่สุดในโลกแล้ว กษัตริย์ไทยของเรายังเป็นที่รักของประชาชนทั้งชาวไทยเเละชาวต่างชาติเป็นอย่างมากอีกด้วย เนื่องจากคุณงามความดีที่ในหลวงของเราทรงทำให้เเก่ประชาชนชาวไทย  คุณสามารถอ่านรายงานข่าวเกี่ยวกับการสวรรณคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศที่เขียนโดยองค์กรข่าวต่าง ๆของประเทศอังกฤษ ได้ที่นี่ ไม่ว่าจะเป็น BBC, The Guardian หรือ The Telegraph

เกิดอะไรขึ้น?
บุคคลสำคัญของสหราชอาณาจักรได้ออกมาแสดงความเสียใจของพวกเขาที่มีต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลในพระบรมโกศมากมายตามช่องทางต่างๆ ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสหราชอาณาจักรและประเทศไทยนั้นดีมายาวนานเเละยังมีวี่เเววว่าจะดีเเบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ
ควีนอังกฤษ ส่งพระราชสาส์น แสดงความเสียพระราชหฤทัย ถึงสมเด็จพระราชินีฯ
จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ระบุว่า  ควีนเอลิซาเบธที่ 2 แห่งอังกฤษ ทรงส่งพระราชสาส์นเป็นการส่วนพระองค์มาถึงสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ แสดงความเสียพระราชหฤทัยต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระราชวงศ์ของอังกฤษและไทยได้พบกันในหลายต่อหลายครั้งเเละได้มีพันธไมตรีที่ดีต่อกันอย่างเรื่อยมา โดยในปีพุทธศักราช 2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินีแห่งประเทศไทยได้เข้าเยี่ยมราชวงศ์เเห่งสหราชอาณาจักร

นอกเหนือจากราชวงศ์เเล้ว นักการเมืองอังกฤษยังได้แสดงความเสียใจต่อการสวรรณคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศอีกด้วย หนึ่งในนั้นคือนายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร Theresa May ที่ได้เเถลงการณ์ความเสียใจต่อประเทศไทย มีเนื้อหาดังนี้
“I would like to express my sincere personal condolences to the Royal Family and the people of Thailand on the death of His Majesty King Bhumibol Adulyadej.”
“His Majesty guided the Kingdom of Thailand with dignity, dedication and vision throughout his life. He will be greatly missed.”
“Our thoughts are with the people of Thailand at this difficult time.
อาคารรัฐบาลในสหราชอาณาจักรได้มีการลดธงลงเหลือครึ่งเสาเพื่อเป็นการเเสดงถึงความไว้อาลัยการจากไปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 13 ถึงวันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม ที่ผ่านมา
นอกเหนือจากบุคคลทางการเมืองเเล้ว สโมสรฟุตบอลอย่าง Leicester City ก็ได้เเสดงความเสียใจต่อการสวรรณคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาก่อนลงเเข่งนัดสำคัญของพวกเขา โดยในปี พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมา สโมสรเลสเตอร์ซิตี้นั้นได้รับการประทับตราอนุมัติจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชหลังจากที่สโมสรได้ถูกซื้อโดยมหาเศรษฐีไทย วิชัย ศรีวัฒนประภา


หรือแม้กระทั่งลิเวอร์พูล สโมสรฟุตบอลชื่อดังจากเกาะอังกฤษ ได้มีการขึ้นข้อความภาษาไทย รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ที่แบนเนอร์ในสนามแอนฟิลด์ในการแข่งขันกับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ในวันที่ 17 ตุลาคม 2559 ที่ผ่านมา โดยมี จอร์แดน เฮนเดอร์สัน กัปตันทีม ในนามตัวแทนสโมสรลิเวอร์พูล แสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง ต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
“On behalf of everyone at Liverpool Football Club, the players and staffs. We would like to pay our respect to the king of Thailand. Our thoughts are over with our fans in Thailand at this time.”

ฃมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง?
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอนได้จัดมีการจัดสมุดลงนามถวายความอาลัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศตั้งเเต่วันที่ 14 ตุลาคม เป็นต้นไป ในเวลาทำการ 9.30 จนถึง 16.30 (ทุกวัน ไม่ยกเว้นวันหยุดราชการ) ที่ผ่านมานั้นได้มีคนไทยรวมทั้งชาวต่างชาติร่วมกันใส่เครื่องเเต่งกายสีดำมาลงลายมือชื่อในหนังสือและกราบพระบรมฉายาลักษณ์ในลักษณะเงียบเสำรวม รวมไปถึงนักเรียนไทยในอังกฤษ และ น้องๆนักเรียนของโกยูนิหลายคน ที่ได้มาร่วมเขียนแสดงความรู้สึกและความทรงจำของพวกเขาที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9

วัดพุทธปทีป ณ กรุงลอนดอน รวมไปถึงวัดไทยอื่น ๆ ทั่วประเทศอังกฤษและไอร์แลนด์เหนือนั้นได้มีการดำเนินจัดพิธีบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระบรมโกศ โดยทางวัดจะจัดพิธีสวดอภิธรรมเป็นเวลา 7 วัน (ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม จนถึง 20 ตุลาคม 2559)

มหาวิทยาลัยต่างๆในสหราชอาณาจักรได้ส่งข้อความเเสดงความเสียใจให้เเก่นักเรียนนักศึกษาไทยที่กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยนั้นๆ รวมไปถึง De Montfort University และมหาวิทยาลัย โรงเรียนภาษา Partner ของ GoUni อีกหลายแห่ง ที่ได้ส่งข้อความเเสดงความเสียใจของพวกเขาต่อเหตุการณ์นี้ให้กับทีม GoUni ของเรา
เราเห็นได้ว่าปฎิกิริยาของคนทั่วโลกที่มีต่อการสวรรณคตของในหลวงของเรานั้นเต็มไปด้วยความเคารพเเละโศกเศร้าเสียใจ  สื่อให้เห็นถึงความรักและผูกพันของพสกนิกรชาวไทยต่อในหลวงเราไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก วันนี้ราชอาณาจักรไทยร่ำไห้ด้วยเหตุผลหลายประการ เราสูญเสียหนึ่งในเสาหลักสำคัญของประเทศ เรายังเสียพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะพระมหากษัตริย์ที่ปกครองประชาชนยาวนานที่สุดในโลก แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการที่คนไทยนั้นได้สูญเสีญ “พ่อ” ของแผ่นดินที่ทรงมีพระคุณกับคุณกับเราเป็นอย่างมาก ท่านทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อยตลอดระยะเวลาการครองราชย์ของท่าน ถึงแม้ว่าเราอาจจะสูญเสีญในหลวงของเราไป แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลนั้นจะอยู่ในหัวใจเเละความทรงจำของชาวไทยทุกคนตลอดไป …. ❤️

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2559

หน้าแรก

วันแม่แห่งชาติ
12 สิงหาคม 2559


แม่คือคนสำคัญที่สุดในชีวิตหนู


แม่
               หมายถึง หญิงในฐานะที่เป็นผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน
     ในทางพระพุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ซึ่งหมายถึง หญิงที่มีครอบครัว

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วันแม่่แห่งชาติ

ประวัติวันแม่แห่งชาติ

งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515
แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ

ดอกมะลิ สัญลักษณ์ของวันแม่

นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 พระนามเดิม หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล (ภายหลังได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พลเอกพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ)กับ หม่อมหลวงบัว กิติยากร เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ณ บ้านของพลเอกเจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ (ม.ร.ว.สท้าน สนิทวงศ์) และท้าววนิดาพิจาริณี บิดาและมารดาของหม่อมหลวงบัว กิติยากร ตั้งอยู่ที่ 1808 ถนนพระรามที่ 6 อำเภอปทุมวัน จ.พระนคร ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "สิริกิติ์" มีความหมายว่า "ผู้เป็นศรีแห่งกิติยากร"

ตราประจำพระองค์
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระภาดา (พี่ชาย) 2 องค์ และและพระขนิษฐภคินี (น้องสาว) 1 องค์ ดังนี้ หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร (ชาตะ พ.ศ. 2472) หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร (ชาตะ พ.ศ. 2473) และ หม่อมราชวงศ์หญิง บุษบา กิติยากร (ชาตะ พ.ศ. 2477)
ในระหว่างยังทรงพระเยาว์ สถานการณ์บ้านเมืองไม่สู้สงบนัก เนื่องจากเพิ่งพ้นจากช่วงของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ไม่นาน หม่อมเจ้านักขัตรมงคลต้องทรงออกจากราชการ รัฐบาลแต่งตั้งให้ไปรับตำแหน่งเลขานุการเอกประจำสถานทูตสยาม ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ส่วนหม่อมหลวงบัวซึ่งมีครรภ์แก่ ได้เดินทางไปสมทบหลังจากให้กำเนิดหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์แล้ว โดยมอบหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ให้อยู่ในความดูแลของบิดาและมารดาของหม่อมหลวงบัว ดังนั้นจึงต้องอยู่ไกลจากบิดามารดาตั้งแต่อายุน้อย บางคราวต้องเดินทางไปต่างจังหวัด เช่น พ.ศ. 2476 หม่อมเจ้าอัปสรสมาน กิติยากร พระมารดาของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล ได้ทรงรับนัดดาตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปอยู่ที่จังหวัดสงขลา ปลายปี พ.ศ. 2477 หม่อมเจ้านักขัตรมงคลทรงลาออกจากราชการแล้วกลับมาประเทศไทย จึงทำให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ซึ่งขณะนั้นอายุได้ 2 ปี 6 เดือน ได้กลับมาอยู่รวมพร้อมหน้ากันทั้งครอบครัว ณ ตำหนักบริเวณถนนกรุงเกษม ปากคลองผดุงกรุงเกษม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
การศึกษาพ.ศ. 2479 เมื่อหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์มีอายุได้ 4 ขวบ ก็ได้เข้ารับการศึกษาครั้งแรกในชั้นอนุบาลที่โรงเรียนราชินี ทว่าในขณะนั้น แม้เหตุการณ์ด้านการเมืองภายในประเทศไทยจะสงบลง แต่สถานการณ์ระหว่างประเทศก็ไม่สงบ กล่าวคือ สงครามมหาเอเชียบูรพาเริ่มแผ่ขยายมาถึงประเทศไทย กรุงเทพมหานครถูกโจมตีทางอากาศหลายครั้งจนการคมนาคมไม่สะดวก พระบิดาจึงให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ เพราะอยู่ใกล้วังพระบิดา ได้เรียนที่นั่นตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จนจบชั้นมัธยมศึกษา หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ได้เรียนเปียโน ซึ่งเรียนได้ดีและเร็วเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสด้วย
พ.ศ. 2489 ครั้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง หม่อมเจ้านักขัตรมงคลต้องเสด็จไปดำรงตำแหน่งรัฐทูตวิสามัญและอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำสำนักเซนต์เจมส์ ประเทศอังกฤษ ทั้งนี้โดยได้ทรงพาครอบครัวทั้งหมดไปอยู่ด้วย ในเวลานั้นหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ มีอายุได้ 13 ปีเศษ และเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้ว
ขณะที่อยู่ในประเทศอังกฤษ หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ได้ศึกษาต่อทั้งวิชาภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส และวิชาเปียโนกับครูพิเศษ หลังจากนั้นไม่นาน พระบิดาย้ายไปเดนมาร์กและฝรั่งเศส ตามลำดับ ขณะที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ก็ยังคงเรียนเปียโน และตั้งใจจะศึกษาต่อในวิทยาลัยการดนตรีที่มีชื่อเสียงของกรุงปารีส
ระหว่างที่อยู่ในประเทศฝรั่งเศส หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ได้มีโอกาสรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช (ขณะนั้นทรงศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์) ซึ่งพระองค์เสด็จประพาสกรุงปารีส โดยทางรถยนต์จากสวิตเซอร์แลนด์ เพราะประสงค์จะเลือกซื้อรถยนต์พระที่นั่งแทนคันเดิม และยังได้รับชมการแสดงดนตรีของคณะที่มีชื่อเสียงด้วย ในระหว่างที่เสด็จพระราชดำเนินมายังกรุงปารีส ก็ได้ประทับที่สถานทูตไทยประจำประเทศฝรั่งเศสเช่นเดียวกันกับนักเรียนไทยคนอื่นในสมัยนั้น ทั้งนี้เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงโปรดการดนตรีเป็นพิเศษ ขณะที่หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ก็สนใจศิลปะเช่นกัน ทำให้เกิดความความสัมพันธ์ขึ้น
ทรงหมั้นวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2491 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งโดยมีหม่อมหลวงบัวและหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ เข้าเฝ้าฯ เยี่ยมพระอาการเป็นประจำ และในช่วงระยะเวลาที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์อยู่เฝ้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่สวิตเซอร์แลนด์นั้น สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (พระนามในเวลานั้น) ได้ทรงรับเป็นธุระจัดการให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เข้าศึกษาในโรงเรียน Pensionnat Riante Rive [ต้องการแหล่งอ้างอิง] ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำแห่งหนึ่งของโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหายจากอาการประชวรแล้ว ก็ได้ทรงหมั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เป็นการภายในเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492
หลังจากทรงหมั้นแล้ว หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ยังคงศึกษาต่อ กระทั่ง พ.ศ. 2493 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนครเพื่อร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระองค์ท่านโปรดฯ ให้หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ตามเสด็จพระราชดำเนินกลับมาด้วย
อภิเษกสมรสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงสายสะพายนพรัตน์ราชวราภรณ์เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสขึ้น ณ วังสระปทุม และโปรดเกล้าฯ สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์
หลังจากครองราชย์สมบัติอย่างกะทันหัน พระบาทสมเด็จพระหัวอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นในวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 และโปรดฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี หลังจากนั้นทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ กลับไปยังสวิตเซอร์แลนด์เพื่อทรงรักษาพระองค์และทรงศึกษาต่อ แล้วเสด็จฯ กลับมาอีกครั้งในปี พ.ศ. 2495
พระราชโอรสธิดาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชโอรส และพระราชธิดา 4 พระองค์ ดังนี้
1. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติ ณ สถานพยาบาลมองซัวซี นครโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2494 ต่อมาได้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์ (ปัจจุบัน ทรงพระนามว่า ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริโสภาพรรณวดี) เพื่อสมรสกับนายปีเตอร์ เลด เจนเซ่น ชาวอเมริกัน ทรงมีพระโอรส 1 องค์ และพระธิดา 2 องค์
2. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักราดิศรสันตติวงศ์ เทเวศรธำรงสุรบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดชภูมิพลนเรศวรางกูร กิติสิริสมบูรณ์ สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2495 ต่อมา ทรงได้รับการสถาปนา ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร เมื่อ พ.ศ. 2515
3. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ต่อมาทรงได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระอิสริยยศ เป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เมื่อ พ.ศ. 2520
4. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 4 กรกฏาคม พ.ศ. 2500 ทรงอภิเษกสมรสกับ เรืออากาศโท (ยศในขณะนั้น) วีระยุทธ ดิษยะศริน ทรงมีพระธิดา 2 พระองค์
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เมื่อ พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออกผนวชเป็นเวลา 15 วัน ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน และระหว่างที่ผนวช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธยเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ปีเดียวกัน


วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

แนะนำ คณะพยาบาลศาสตร์


แนะนำ คณะพยาบาลศาสตร์





คณะพยาบาลศาสตร์ 

          พยาบาลศาสตร์ เป็น การศึกษาที่เน้นหนักในการให้บริการ ด้านสุขภาพอนามัยแก่ผู้ป่วยทางกาย หรือทางจิต ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บทุพพลภาพ และผู้สูงอายุ การให้บริการด้านพยาบาล คำนึงถึงความต้องการของคนไข้ ตามลักษณะของโรคที่เป็น สังเกตและบันทึกความเปลี่ยนแปลงของคนไข้ รายงานให้แพทย์ทราบถึงอาการผิดปกติที่เกี่ยวกับร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ช่วยฟื้นฟูสุขภาพ ช่วยคนไข้ให้ปรับตัวเข้ากับภาวะขัดข้องใด ๆ ที่อาจเกิดจากการเจ็บป่วย จัดให้คนไข้มีสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขอนามัย ป้องกันและควบคุมการเผยแพร่ของโรคติดเชื้อ สอนคนไข้และประชาชนทั่วไปให้รู้จักรักษา และส่งเสริมสุขภาพ ร่วมงานกับเจ้าหน้าที่ฝายการแพทย์ แลอนามัยแขนงอื่น ๆ ในด้านบริการคนไข้

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

          1.มีความรู้พื้นฐานวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นอย่างดี จบมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์
          2.มีสุขภาพกายและจิตดี มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่รังเกียจผู้ป่วย มีเมตตากรุณา และมีความรักในเพื่อนมนุษย์
          3.เสียสละทั้งด้านเวลาและตนเองให้แก่ผู้ป่วยทุกคน มีความอดทน อดกลั้น

แนวทางในการประกอบอาชีพ

          รับราชการในหน่วยงานของรัฐ หรือทำงานในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจและเอกชน มีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ รายได้ค่อนข้างดี ศึกษาต่อระดับปริญญาโท และเอกสาขาพยาบาลศาสตร์ได้ทั้งในและต่างประเทศ


รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยที่เปิดสอนวิชาพยาบาลศาสตร์

          สถาบันอุดมศึกษารัฐบาล

          - คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เปิดสอนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก) Link >>
          - คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  Link >>
          - คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  Link >>
          - คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  Link >>
          - คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร  Link >>
          - สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา  Link >>
          - วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม  Link >>
          - คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์  Link >>
          - คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา  Link >>
          - คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  Link >>
          - ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล  Link >>
          - วิทยาลัยนานาชาติ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  Link >>
          - คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  Link >>
          - สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  Link >>
          - สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง  Link >>
          - คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต  Link >>
          - วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  Link >>
          - วิทยาลัยพยาบาลพระยาภักดีชุมพล มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ  Link >>
          - สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม  Link >>
          - คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี  Link >>
          - สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  Link >>
          - คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  Link >>
          - คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  Link >>
          - สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (เปิดสอนเฉพาะหลักสูตร 2 ปีต่อเนื่อง)  Link >>
          
          วิทยาลัยพยาบาลสังกัดหน่วยงานอื่น


          - วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย  Link >>
          - วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์  Link >>
          - วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก  Link >>
          - วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ  Link >>
          - วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ  Link >>
          - วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ  Link >>

          วิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

          วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ  
          วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ  
          วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี  
          วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท  
          วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี  
          วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท 
          วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี  
          วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช 
          วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี  
          วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่  
          วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง  
          วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี พะเยา 
          วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช  
          วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์  
          วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์  
          วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น  
          วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี  
          วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา  
          วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์                       -วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี สงขลา  
          วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช                          -วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี  
          วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี ตรัง  
          วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี ยะลา  
          วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี  
          วิทยาลัย พยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี  
          วิทยาลัย พยาบาลศรีมหาสารคาม 

          สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

          คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน  
          คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี  
          คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ 
          คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต  
          คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี  
          คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี  
          คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล  
          คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น  
          คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม  
          คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 
          คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (หลักสูตรนานาชาติ)  
          คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย  
          คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี  
          คณะ พยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเฉลิมกาญจนา  
          คณะ พยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเชียงราย  
          คณะ พยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์  
          คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์เทเรซา-อินติ (หลักสูตรนานาชาติ)
          คณะ พยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา    
          คณะ พยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย  
          คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเซีย-แปซิฟิก
          


ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก
 admissions.is.in.th และ  วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ที่มา  kapook.com